วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรื่องที่ 10 ซอฟต์แวร์ประยุกต์


ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกวงการ ความนิยมส่วนหนึ่งมาจากขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้น ๆ เพราะซอฟต์แวร์ที่ผลิตออกจำหน่าย ต่างพยายามแข่งขันกันหลาย ๆ ด้าน เช่น เรียนรู้และใช้งานได้ง่าย สนับสนุนให้ใช้กับเครื่องพิมพ์ได้ดี มีคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ที่อ่านเข้าใจง่าย ให้วิธีหรือขั้นตอนที่อธิบายไว้อย่างชัดเจน และมีระบบโอนย้ายข้อมูลเข้าออกกับซอฟต์แวร์อื่นได้ง่าย
aaaaa
ซอฟต์แวร์ประยุกต์มีอยู่มากมาย อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไป และซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะทาง

ซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปaaaaaซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะสำหรับงานใดงานหนึ่ง ผู้ใช้งานจะต้องเป็นผู้นำไปประยุกต์กับงานของตน ผู้ใช้อาจต้องมีการสร้างหรือพัฒนาชิ้นงานภายในซอฟต์แวร์ต่อไปอีก ราคาของซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปนี้จะไม่สูงมากเกินไปaaaaaซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปซึ่งนิยมเรียกว่า ซอฟต์แวร์สำเร็จ แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มตามลักษณะการใช้งาน คือaaaaa- ด้านการประมวลคำaaaaa- ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล หรือตารางทำงานaaaaa- ด้านการเก็บและเลือกค้นข้อมูลเป็นระบบฐานข้อมูลaaaaa- ด้านการติดต่อสื่อสารทางไกลaaaaa- ด้านการพิมพ์ตั้งโต๊ะaaaaa- ด้านการลงทุนและการจัดการเงินaaaaa- ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมaaaaa- ด้านภาพกราฟิกและการนำเสนอข้อมูลaaaaa- ด้านการจำลอง เกม และการตัดสินใจaaaaaในบรรดาซอฟต์แวร์สำเร็จทั้งหลายในกลุ่มนี้ กลุ่มซอฟต์แวร์ที่มีการใช้งานมากและจำเป็นต้องมีประจำหน่วยงาน มักจะเป็นสี่รายการแรก คือ ด้านการประมวลคำ ด้านตารางทำงาน ด้านระบบฐานข้อมูล และด้านการสื่อสาร นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ที่กำลังได้รับความนิยมสูงขึ้น ได้แก่ ซอฟต์แวร์ด้านกราฟิกเพื่อนำเสนอข้อมูล และซอฟต์แวร์การพิมพ์ตั้งโต๊ะ
aaaaa
ซอฟต์แวร์สำเร็จส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดเป็นโปรแกรมประยุกต์เชิงพาณิชย์ที่มาจากต่างประเทศ ยกเว้นเฉพาะกลุ่มแรก คือ โปรแกรมประมวลคำที่ประเทศไทยมีสร้างและพัฒนาขึ้นมาเอง เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานร่วมกับภาษาไทย โดยการนำซอฟต์แวร์เดิมมาดัดแปลงและเพิ่มเติมส่วนที่ใช้งานเป็นภาษาไทย
aaaaa
นอกจากซอฟต์แวร์สำเร็จที่กล่าว ยังมีซอฟต์แวร์สำเร็จซึ่งนำความสามารถของงานหลาย ๆ ด้านมารวมอยู่ในโปรแกรมเดียวกัน เพื่อให้สามารถใช้งานหลายอย่างได้พร้อมกัน คือ จะใช้ได้ทั้งประมวลคำ ตารางทำงาน จัดการฐานข้อมูล การนำเสนอข้อมูล และอาจรวมถึงการสื่อสารข้อมูลด้วย
aaaaa
ซอฟต์แวร์สำเร็จอาจไม่สามารถนำไปใช้กับงานโดยตรง จะต้องมีการเปลี่ยแปลงแก้ไขหรือพัฒนาเพิ่มเติม ซึ่งการแก้ไขนี้อาจต้องใช้เวลาและกำลังงาน ในบางครั้งก็ยังไม่สามารถสนองความต้องการได้ จึงเกิดการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานเฉพาะอาชีพหรือเฉพาะทาง

 ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะทางaaaaaซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะทาง เป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาสำหรับนำไปใช้งานเฉพาะด้าน หรือในอาชีพใดอาชีพหนึ่ง เช่น โปรแกรมช่วยจัดการด้านการเงิน โปรแกรมช่วยจัดการบริการลูกค้า ฯลฯ ตามปกติจะไม่ค่อยได้พบเห็นซอฟต์แวร์ประเภทนี้ในท้องตลาดทั่วไป แต่จะซื้อหาได้จากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายในราคาค่อนข้างสูงกว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้งานทั่วไป
aaaaa
โครงสร้างของซอฟต์แวร์เฉพาะทางมักจะประกอบด้วย ฐานข้อมูลเพื่อใช้เก็บข้อมูลลูกค้า และระบบของงาน ภายในซอฟต์แวร์ควรจะมีส่วนทำงานประมวลคำเพื่อใช้สร้างรายงาน ติดต่อโต้ตอบจดหมาย และการนัดหมายตามกำหนดการ ลักษณะของซอฟต์แวร์เฉพาะทางนี้ มีทั้งรูปแบบที่มีผู้ใช้งานคนเดียว หรือผู้ใช้งานได้พร้อมกันหลายคนaaaaaในประเทศไทยมีการใช้ซอฟต์แวร์ประเภทใช้งานเฉพาะทางอยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตต่างประเทศได้ออกแบบมาเพื่อรองรับงานด้านธุรกิจ ในที่นี้ได้รวบรวมจัดประเภท ไว้ดังนี้aaaaa1) ซอฟต์แวร์ระบบงานด้านบัญชี ได้แก่ ระบบงานบัญชีเจ้าหนี้ บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินทรัพย์ถาวรและค่าเสื่อมราคาสะสม บัญชีแยกประเภททั่วไป และบัญชีเงินเดือนaaaaa2) ซอฟต์แวร์ระบบงานจัดจำหน่าย ได้แก่ ระบบงานรับใบสั่งซื้อสินค้า ระบบงานบริหารสินค้าคงคลัง ระบบงานควบคุมสินค้าแบบจำนวนและรายชิ้น และระบบงานประวัติการขายaaaaa3) ซอฟต์แวร์ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ ระบบงานกำหนดโครงสร้างผลิตภัณฑ์ การวางแผนกำลังการผลิต การคำนวณต้นทุนของงาน การประเมินผลงานของพนักงาน การวางแผนการผลิตหลัก การวางแผนความต้องการวัสดุ การควบคุม การทำงานภายในโรงงาน การกำหนดเงินทุนมาตรฐานสินค้า และการกำหนดขั้นตอนการผลิตaaaaa4) ซอฟต์แวร์อื่น ๆ ได้แก่ ระบบการสร้างรายงาน การบริหารการเงิน การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ และการเช่าซื้อรถยนต์

เรื่องที่ 9 ซอฟต์แวร์และซอฟต์แวร์ระบบ


                                 

ความหมายของซอฟต์แวร์
aaaaaการใช้งานระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน เช่น การซื้อของโดยใช้บัตรเครดิต ผู้ขายจะตรวจสอบบัตรเครดิตโดยใช้เครื่องอ่านบัตร แล้วส่งข้อมูลของบัตรเครดิตไปยังศูนย์ข้อมูลของบริษัทผู้ออกบัตร การตรวจสอบจะกระทำกับฐานข้อมูลกลาง โดยมีกลไกหรือเงื่อนไขของการตรวจสอบ จากนั้นจึงให้คำตอบว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธบัตรเครดิตใบนั้นการดำเนินการเหล่านี้เป็นไปโดยอัตโนมัติตามคำสั่งของซอฟต์แวร์
aaaaa
ทำนองเดียวกันเมื่อซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า พนักงานเก็บเงินจะใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่งบนสินค้าทำให้บนจอภาพปรากฎชื่อสินค้า รหัสสินค้า และราคาสินค้า ในการดำเนินการนี้ต้องใช้ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบทำงานได้
aaaaa
ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตออร์เป็นลำดับตามขั้นตอนของการทำงานชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมและทำขึ้นก่อนแล้วนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงหมายถึง การสั่งการให้คอมพิวเตอร์กระทำตามขั้นตอนและแผนงานต่าง ๆ ตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ได้ดำเนินการหรือจัดเตรียมไว้แล้ว ซอฟต์แวร์จึงเป็นผลที่มนุษย์จัดทำขึ้น และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามกรอบของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น
aaaaa
การใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์จะเริ่มขึ้นเมื่อไมโครคอมพิวเตอร์พร้อมรับคำสั่ง โดยขึ้นตัวพร้อม (prompt) ดังรูปที่ 6.1



                                          

ซอฟต์แวร์ระบบ
aaaaaซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือซอฟต์แวร์ควบคุมการปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการ
aaaaa
ระบบปฏิบัติการเป็นชุดคำสั่งที่ใช้ควบคุมระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อื่น ๆ ของคอมพิวเตอร์ให้ทำงานอย่างถูกต้อง ซอฟต์แวร์นี้เชื่อมอยู่ระหว่างซอฟต์แวร์ประยุกต์กับฮาร์ดแวร์ที่เป็นหน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยขับแผ่นบันทึก แผงแป้นอักขระและจอภาพ ในเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการนี้จะส่งงานผ่านไปยังโปรแกรมควบคุมการจัดการพื้นฐาน ซึ่งเป็นโปรแกรมย่อยขั้นพื้นฐานของการติดต่อไปยังฮาร์ดแวร์ของระบบอีกต่อหนึ่ง
aaaaa
การนำไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ผู้ใช้จำเป็นต้องเรียนรู้คำสั่งของโปรแกรมระบบปฏิบัติการให้ได้ในระดับหนึ่ง เพื่อเป็นพื้นฐานขั้นต้นของการเรียกติดต่อกับคอมพิวเตอร์เช่น การขอดูรายการข้อมูลที่เก็บในแผ่นบันทึก การจัดรูปแบบแผ่นบันทึกเพื่อนำมาเก็บข้อมูล การสำเนาแฟ้มข้อมูล การลบแฟ้มข้อมูล และการเปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูลใหม่ เป็นต้น การเรียนรู้ระบบปฏิบัติการได้ละเอียดลึกซึ้งมากก็ยิ่งจะช่วยให้สามารถเรียกติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์ได้มากยิ่งขึ้น
aaaaa
ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แบ่งได้เป็นระบบปฏิบัติการที่ทำงานเพียงงานเดียวในเวลาหนึ่ง เช่น ซีพีเอ็ม เอ็มเอสดอส พีซีดอส แอปเปิ้ลดอส และระบบปฏิบัติการที่ทำงานพร้อม ๆ กันหลาย ๆ งานในเวลาเดียวกันเรียกว่าระบบหลายภารกิจ (multitasking system) เช่น โอเอสทู วินโดวส์ 95

เรื่องที่ 8 อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง

 
อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Secondary storage Unit)
 
  
ก่อนที่จะศึกษาว่าคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลได้อย่างไร  ผู้อ่านจะต้องทราบก่อนว่าสื่อสำหรับเก็บข้อมูลนั้นมีอะไรบ้าง เนื่องจากคอมพิวเตอร์แปลงคำสั่งและข้อมูลต่าง ๆ เก็บไว้ในรูปแบบของเลขฐานสองคือ 0 และ 1 ทั้งสิ้น โดยที่ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ จะถูกแทนด้วยกลุ่มของตัวเลขเลขฐานสอง และเนื่องจากแรมเป็นหน่วยความจำที่ไม่ได้เก็บข้อมูลอย่างถาวร ถ้าปิดเครื่องหรือไฟดับข้อมูลก็หายไป ดังนั้นถ้าผู้ใช้มีข้อมูลอยู่ในแรมก็จะต้องทำการจัดเก็บข้อมูล โดยย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวร ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนอกจากผู้ใช้เป็นผู้สั่ง รวมทั้งสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากได้ และที่สำคัญหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะมีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับหน่วยความจำหลัก ทำให้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วย เก็บข้อมูลสำรองซึ่งสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมาก อย่างไรก็ดีความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะต่ำกว่าหน่วยความจำหลัก ดังนั้นจึงควรทำงานให้เสร็จก่อน จึงย้ายข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง

ในปัจจุบันมีหน่วยเก็บข้อมูลให้เลือกใช้หลายชนิด ดังต่อไปนี้

1.เทป (Tape)
เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)
เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้กันมานานตั้งแต่คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่งและยุคที่สอง ปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง เทปแม่เหล็กมีหลักการทำงานคล้ายเทปบันทึกเสียง แต่เปลี่ยนจากการเล่น (Play) และบันทึก (Record) เป็นการอ่าน (Read) และเขียน (Write) แทนในเครื่องเมนเฟรมเทปที่ใช้จะเป็นแบบม้วนเทป (Reel-to-reel) ซึ่งเป็นวงล้อขนาดใหญ่ ในเครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะใช้คาร์ ทริดจ์เทป (Cartridge tape) ซึ่งมีลักษณะคล้ายวิดีโอเทป ส่วนในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะใช้ตลับเทป (Cassette tape) ซึ่งมีลักษณะเหมือนเทปเพลง เทปทุกชนิดที่กล่าวมามีหลักการทำงานคล้ายกับเทปบันทึกเสียง คือจะอ่านข้อมูลตามลำดับก่อนหลังตามที่ได้บันทึกไว้ เรียกหลักการนี้ว่าการเข้าถึงข้อมูลตามลำดับ (Sequential access) การทำงานลักษณะนี้จึงเป็นข้อเสียของการใช้เทปแม่เหล็กบันทึกข้อมูล คือทำให้อ่านข้อมูลได้ช้า เนื่องจากต้องอ่านข้อมูลในม้วนเทปไปเรื่อย ๆ จนถึงตำแหน่งที่ต้องการ ผู้ใช้จึงนิยมนำเทปแม่เหล็กมาสำรองข้อมูลเท่านั้น ส่วนข้อมูลที่กำลังใช้งานจะถูกเก็บอยู่บนหน่วยเก็บข้อมูลแบบ จานแม่เหล็ก (Magetic Disk) เพื่อให้เรียกใช้ได้ง่าย และนำเฉพาะข้อมูลที่สำคัญและไม่ถูกเรียกใช้บ่อยมา เก็บสำรอง (Backup) ไว้ในเทปแม่เหล็ก เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล
ข้อดีของเทปแม่เหล็ก คือสามารถบันทึก อ่าน และลบกี่ครั้งก็ได้ รวมทั้งมีราคาต่ำ นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ในสื่อที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ความจุของเทปแม่เหล็กจะมีหน่วยเป็น ไบต์ต่อนิ้ว (Byte per inch) หรือ บีพีไอ (bpi) ซึ่งหมายถึงจำนวนตัวอักษรที่เก็บในเทปยาวหนึ่งนิ้ว หรือเรียกได้อีกอย่างว่าความหนาแน่นของเทปแม่เหล็ก เทปแม่เหล็กที่มีความหนาแน่นต่ำ จะเก็บข้อมูลได้ประมาณ 1,600 บีพีไอ ส่วนเทปแม่เหล็กที่มีความหนาแน่นสูง จะเก็บข้อมูลได้ประมาณ 6,250 บีพีไอ นอกจากนี้ จะมีเทปแม่เหล็กรุ่นใหม่ ๆ คือ DAT (Digital Audio Tape) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเครดิตการ์ดเล็กน้อย แต่สามารถจุข้อมูลได้ 2-5 จิกะไบต์ และ R-DAT ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 14 จิกะไบต์ บนเทปที่ยาว 90 เมตร การที่เทปแม่เหล็กยังคงได้รับความนิยมให้เป็นสื่อที่เก็บสำรองข้อมูล ก็เพราะความเร็ว ความจุข้อมูล และราคานั่นเอง
2. จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk)
จานแม่เหล็กสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก และมีคุณสมบัติในการ เข้าถึงข้อมูลโดยตรง (Direct access)  ไม่จำเป็นต้องอ่านไปตามลำดับเหมือนเทป จานแม่เหล็กจะต้องใช้คู่กับ ตัวขับจานแม่เหล็ก หรือ ดิสก์ไดร์ฟ (Disk drive) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านเขียนจานแม่เหล็ก (มีหน้าที่คล้ายกับเครื่องเล่นเทป) จานแม่เหล็กเป็นสื่อที่ใช้หลักการของการ เข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม (Random-access) นั่นคือ ถ้าต้องการข้อมูลลำดับที่ 52 หัวอ่านก็จะตรงไปที่ข้อมูลนั้นและอ่านข้อมูลนั้นขึ้นมาใช้งานทันที ทำให้มีความเร็วในการอ่านและบันทึกที่สูงกว่าเทปมาก หัวอ่านของดิสก์ไดร์ฟเรียกว่า หัวอ่านและบันทึก (read/write head) เมื่อผู้ใช้ใส่แผ่นจานแม่เหล็กเข้าไปในดิสก์ ไดร์ฟ แผ่นจานแม่เหล็กก็จะเข้าไปสวมอยู่ในแกนกลม ซึ่งเป็นที่ยึดสำหรับหมุนแผ่นจานแม่เหล็ก จากนั้นหัวอ่านและบันทึกก็จะอ่าน อิมพัลส์ของแม่เหล็ก (Magnetic impulse)  บนแผ่นจานแม่เหล็กขึ้นมาและแปลงเป็นข้อมูลส่งเข้าคอมพิวเตอร์ต่อไป หัวอ่านและบันทึกสามารถเคลื่อนย้ายในแนวราบเหนือผิวหน้าของแผ่นจานแม่เหล็ก ถ้าใช้แผ่นจานแม่เหล็กที่มีผิวหน้าต่างกัน ก็ต้องใช้หัวอ่านและบันทึกต่างชนิดกันด้วย นอกจากนี้ เนื่องจากดิสก์ไดร์ฟนั้นเป็นเพียงอุปกรณ์เครื่องกลชนิดหนึ่งซึ่งอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องมีการเก็บสำรองข้อมูลและโปรแกรมที่ใช้อย่างสม่ำเสมอ
ก่อนที่จะใช้แผ่นจานแม่เหล็กเก็บข้อมูล จะต้องผ่านขั้นตอนของการ ฟอร์แมต(Format) ก่อน เพื่อเตรียมแผ่นจานแม่เหล็กให้พร้อมสำหรับเครื่องรุ่นที่จะใช้งาน (เช่น เครื่อง PC และ Mac จะมีฟอร์แมตที่ต่างกันแต่สามารถใช้แผ่นจานแม่เหล็กรุ่นเดียวกันได้) โดยหัวอ่านและบันทึกจะเขียนรูปแบบของ แม่เหล็กลงบนผิวของแผ่นจานแม่เหล็ก เพื่อให้การบันทึกข้อมูลลงแผ่นจานแม่เหล็กในภายหลังทำตามรูปแบบดังกล่าว การฟอร์แมตแผ่นจานบันทึกจัดเป็นงานพื้นฐานหนึ่ง ของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
ข้อมูลจะถูกบันทึกลงบนจานแม่เหล็กตามรูปแบบที่ได้ฟอร์แมตไว้แล้ว คือแบ่งในแนววงกลมรอบแกนหมุนเป็นหลาย ๆ วง เรียกว่า แทร็ก(Track) แต่ละแทร็กจะถูกแบ่งออกในแนวของขนมเค็กเรียกว่าเซกเตอร์ (Sector) และถ้ามีเซกเตอร์มากกว่าหนึ่งเซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Cluster) นอกจากนี้ในระบบคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะมีตารางสำหรับจัดการข้อมูลในแผ่นจานแม่เหล็ก ซึ่งมีหน้าที่เก็บตำแหน่งแทร็กและเซกเตอร์ของข้อมูลที่อยู่ภายในจานแม่เหล็ก เรียกตารางนี้ว่า ตารางแฟต (FAT หรือ File Allocation Table)  ซึ่งตารางนี้ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถค้นหาและจัดการกับข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
ในปัจจุบันมีจานแม่เหล็กที่ได้รับความนิยมอย่างสูงอยู่สองชนิด คือ ฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) และ ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)  โดยเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่จำหน่ายในปัจจุบันจะมีดิสก์ไดร์ฟและฮาร์ดดิสก์ติดมาด้วยเสมอ
• ฟลอปปี้ดิสก์และดิสก์ไดร์ฟ (Floppy Disk and Disk Drive)
ฟลอปปี้ดิสก์หรือที่บางครั้งนิยมเรียกว่าดิสก์เกตต์ (Diskette)  เป็นแผ่นพลาสติกวงกลม ในปัจจุบันนิยมใช้ขนาด 3.5 นิ้ว (วัดจากเส้นรอบวงของวงกลม) ซึ่งบรรจุอยู่ในพลาสติกแบบแข็งรูปสี่เหลี่ยม และสามารถอ่านได้ด้วยดิสก์ไดร์ฟ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ส่วนมากจะมีดิสก์ไดร์ฟอย่างน้อยครึ่งไดร์ฟเสมอ ดิสก์ไดร์ฟมีหน้าที่สองอย่างคือ อ่านและบันทึก โดยการอ่านมีหลักการทำงานคล้ายกับการเล่นซีดีเพลง ส่วนการบันทึกนั้นมีหลักการทำงานคล้ายกับการบันทึกเสียงลงในเทปบันทึกเสียง ต่างกันก็ตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องกดปุ่มใด ๆ เมื่อต้องการบันทึกข้อมูล เพราะโปรแกรมที่ใช้งานจะจัดการให้โดยอัตโนมัติ แผ่นดิกส์เกตต์จะมี แถบป้องกันการบันทึก (Write-protection) อยู่ด้วย ผู้ใช้สามารถเปิดแถบนี้เพื่อป้องกันไม่ให้มีการบันทึกข้อมูลอื่นทับไปหรือลบทิ้งข้อมูล
จำนวนข้อมูลที่เก็บอยู่ในแผ่นดิสก์เกตต์ จะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของสารแม่เหล็กบนผิวของแผ่นโดยสามารถแบ่งออกเป็นสองชนิด คือ ดิสก์ความจุสองเท่า (Double density) ซึ่งปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ ดิสก์ความจุสูง (High density) ซึ่งจะเก็บข้อมูลได้มากกว่าดิสก์ที่มีความจุเป็นสองเท่าและเป็นดิสก์ที่นิยมใช้งานกันอยู่ทั่วไป
นอกจากนี้ ในปัจจุบันจะมีดิสก์เกตต์แบบพิเศษที่มีความจุสูงถึง 120 MB ต่อแผ่น ซึ่งใช้เทคโนโลยีทางด้าน Laser เรียกว่า Laser Servo (LS) ช่วยให้สะดวกในการเก็บแฟ้มข้อมูลขนาดใหญ่หรือมีปริมาณมากได้ในแผ่นเพียงแผ่นเดียว รวมทั้งสามารถอ่านดิสก์เกตต์ 720 KB และ 1.44 MB  ได้ โดยมีอัตราการโอนถ่ายข้อมูลเร็วกว่าดิสก์เกตต์ปกติถึง 5 เท่า
• ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
มีหลักการทำงานคล้ายกับฟอลปปี้ดิสก์ แต่ฮาร์ดดิสก์ทำมาจากแผ่นโลหะแข็งเรียกว่า Platters ทำให้เก็บข้อมูลได้มากและทำงานได้รวดเร็ว ฮาร์ดดิสก์ส่วนมากจะถูกยึดติดอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ก็มีบางรุ่นที่เป็นแบบ เคลื่อนย้ายได้ (Removable Disk) โดยจะเป็นแผ่นจานแม่เหล็กเพียงแผ่นเดียวอยู่ในกล่องพลาสติกบาง ๆ มีลักษณะคล้ายกับฟอลปปี้ดิสก์ ตัวอย่างเช่น Jaz หรือ Zip Disk จาก lomega หรือ Syjet จาก Syquest ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 1 จิกะไบต์ขึ้นไป ในแผ่นขนาดประมาณ 3.5 นิ้ว เท่านั้น และตัวไดร์ฟจะมีทั้งรุ่นที่ต่อกับคอมพิวเตอร์ทางพอร์ตขนานหรือ SCSI
ฮาร์ดดิสก์ที่นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จะประกอบด้วยจานแม่เหล็กหลาย ๆ แผ่น และสามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งสองหน้าของผิวจานแม่เหล็ก โดยที่ทุกแทร็ก (Track) และ เซกเตอร์ (Sector) ที่มีตำแหน่งตรงกันของฮาร์ดดิสก์ชุดหนึ่งจะเรียกว่า ไซลินเดอร์ (Cylinder)
แผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสก์นั้นหมุนเร็วมาก โดยที่หัวอ่านและบันทึกจะไม่สัมผัสกับผิวของแผ่นจานแม่เหล็ก ดังนั้นจึงอาจมีความผิดพลาดหรือเสียหายเกิดขึ้นได้ถ้ามีบางสิ่งอย่างเช่น ฝุ่น หรือควันบุหรี่ กีดขวางหัวอ่านและบันทึก เพราะอาจทำให้หัวอ่านและบันทึกกระแทรกกับผิวของแผ่นจานแม่เหล็ก
การที่ฮาร์ดดิสก์มีประสิทธิภาพและความจุที่สูง เนื่องจากฮาร์ดดิสก์หนึ่งชุดประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กจำนวนหลายแผ่นทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าฟลอปปี้ดิสก์ โดยฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันจะมีความจุเริ่มตั้งแต่ 10 GB ขึ้นไป นอกจากนี้ ฮาร์ดดิสก์จะหมุนด้วยความเร็วสูงมาก คือตั้งแต่ 5,400 รอบต่อนาทีขึ้นไป ทำให้สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ ๆ ส่วนมากจะมี ความเร็วในการอ่านข้อมูลเฉลี่ย (Averge access time) อยู่ต่ำกว่า 10 มิลลิวินาที (mis)
การเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์กับแผงวงจรหลักจะต้องมี ส่วนเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ (Hard disk interface) ซึ้งจะมีวงจรมาตรฐานที่ทั้งแผงวงจรหลักและฮาร์ดดิสก์รู้จัก ทำให้ข้อมูลสามารถส่งผ่านระหว่างแผงวงจรหลักและฮาร์ดดิสก์ได้ มาตรฐานส่วนเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ EIDE (Enhanced Integrated Drive Electronics) และ SCSI (Small Computer System Interface)
3. ออปติคัลดิสก์ (Optical Disk)
มีหลักการทำงานคล้ายกับการเล่นซีดี (CD) เพลง คือใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมหาศาลในราคาไม่แพงนัก
ในปัจจุบันจะมีออปติคอลอยู่หลายแบบซึ่งใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันไป คือ
ซีดีรอม (CD-ROM หรือ Computer Disk Read Only Memory)
แผ่นซีดีรอมจะมีลักษณะคล้ายซีดีเพลงมาก สามารถเก็บข้อมูลได้สูงถึง 650 เมตร เมกะไบต์ต่อแผ่น การใช้งานแผ่นซีดีรอมจะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive) ซึ่งจะมีหลายชนิดขึ้นกับความเร็วในการทำงาน ซีดีรอมไดร์ฟรุ่นแรกสุดนั้นมีความเร็วในการอ่านข้อมูลที่ 150 กิโลไบต์ต่อวินาที เรียกว่ามีความเร็ว 1 เท่าหรือ 1x ซีดีรอมไดร์ฟรุ่นหลัง ๆ จะอ้างอิงความเร็วในการอ่านข้อมูลจากรุ่นแรก เช่น ความเร็ว 2 เท่า (2x) ความเร็ว 4 เท่า(4x) ไปจนถึง 50 เท่า (50x) เป็นต้น โดยปัจจุบันนี้ซีดีรอมไดร์ฟที่มีอยู่ในท้องตลาดจะมีความเร็วตั้งแต่สามสิบเท่าขึ้นไป ข้อจำกัดของซีดีรอมคือสามารถบันทึกได้เพียงครั้งเดียวด้วยเครื่องมือเฉพาะเท่านั้น จากนั้นจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้
ซีดีรอมได้รับความนิยมใช้เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำหรับอ่านอย่างเดียวเป็นอย่างมาก เช่น ซอฟต์แวร์ เกมส์ พจนานุกรม แผนที่โลก หนังสือ ภาพยนตร์ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันซอฟต์แวร์ต่าง ๆ จะมาในรูปของซีดีรอมเป็นหลัก เนื่องจากสะดวกต่อการติดตั้งลงฮาร์ดดิสก์ ไม่ต้องทำการเปลี่ยนแผ่นบ่อย ๆ โอกาสเสียมีน้อยและต้นทุนต่ำ
การบันทึกข้อมูลลงในแผ่นซีดีรอม ปกติแล้วต้องใช้เครื่องซึ่งมีราคาแพงมาก แต่ในปัจจุบันมีแผ่นซีดีรอมที่เรียกว่า ซีดีอาร์ (CD-R หรือ CD Recordable) ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลลงในแผ่นด้วยซีดีอาร์ไดร์ฟ (CD-R drive) ที่มีราคาไม่สูงนัก และนำแผ่นซีดีอาร์ที่มีข้อมูลบันทึกไว้ไปอ่านด้วยซีดีรอมไดร์ฟปกติได้ทันที
ซีดีอาร์ไดร์ฟสามารถบันทึกแผ่นซีดีอาร์ให้เป็นได้ทั้งซีดีรอมหรือซีดีเพลง (Audio CD) และเก็บบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 600-900 เมกะไบต์ในหนึ่งแผ่น (ถ้าเก็บข้อมูลนั้นในแผ่นดิสก์เกตต์จะต้องใช้หลายร้อยแผ่น) ทำให้เหมาะกับการนำมาจัดเก็บข้อมูลทางด้าน มัลติมีเดีย (Multimedia) และยังมีการนำมาใช้บันทึกเป็น แผ่นต้นฉบับ (Master Disk) เพื่อนำไปผลิตแผ่นซีดีจำนวนมากต่อไป
ความเร็วของไดร์ฟซีดีอาร์จะระบุโดยใช้ตัวเลขสองตัวคือความเร็ว ในการเขียนแผ่นและความเร็วในการอ่านแผ่น คั่นด้วยเครื่องหมาย X ซึ่งหมายถึงความเร็วคิดเป็นจำนวนเท่าของ 150 กิโลไบต์ต่อวินาที เช่น 24x40 หมายถึง ไดร์ฟซีดีอาร์นั้นสามารถเขียนแผ่นด้วยความเร็ว 24 เท่า (150x24 =3600 กิโลไบต์ต่อวินาที) และอ่านแผ่นด้วยความเร็ว 40 เท่า (150x40=6000 กิโลไบต์ต่อวินาที)
ในปัจจุบันจะมีไดร์ฟแบบ ซีดีอาร์ดับเบิลยู (CD-RW Drive) ที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นให้ไดร์ฟและแผ่น CD-RW ซึ่งเป็นแผ่นซีดีพิเศษที่สามารถลบแล้วบันทึกใหม่ได้คล้ายกับการบันทึกบนแผ่นดิสก์เกตต์ ทำให้ไดร์ฟและแผ่น CD-RW เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งไดร์ฟ CD-RW ยังสามารถทำการบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD-R ได้ (เขียนได้ครั้งเดียวไม่สามารถลบได้เช่นเดียวกับการเขียนด้วยไดร์ฟซีดีอาร์) ทำให้สะดวกกับการเลือกบันทึก โดยกรณีที่ต้องการเก็บข้อมูลที่ไม่การเปลี่ยนแปลงแล้ว ก็สามารถบันทึกลงแผ่นซีดีอาร์ที่มีราคาถูกกว่า และสำหรับข้อมูลที่ยังมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ ก็สามารถบันทึกลงแผ่น CD-RW ได้
ความเร็วของไดร์ฟซีดีอาร์ดับเบิลยูจะระบุโดยใช้ตัวเลขสามตัว คือ ความเร็วในการเขียนแผ่นแบบซีดีอาร์ ความเร็วในการลบและเขียนซ้ำบนแผ่นซีดีอาร์ดับเบิ้ลยู และความเร็วในการอ่านแผ่น คั่นด้วยเครื่องหมาย x เช่น 24x10x40 หมายถึงไดร์ฟซีดีอาร์ดับเบิลยูเครื่องนั้นสามารถเขียนแผ่นด้วยความเร็ว 24 เท่า (150x24=3600 กิโลไบต์ต่อวินาที) ลบและเขียนซ้ำด้วยความเร็ว 10 เท่า (150x10=1500 กิโลไบต์ต่อวินาที) และอ่านแผ่น ด้วยความเร็ว 40 เท่า (150x40=6000 กิโลไบต์ต่อวินาที)
วอร์มซีดี (WORM CD หรือ Write Once Read Many CD)
เป็นซีดีที่ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลลงในแผ่นวอร์มซีดีได้หนึ่งครั้ง และสามารถอ่านข้อมูลที่บันทึกไว้ขึ้นมากี่ครั้งก็ได้ แต่จะไม่สามารถเปลี่ยนแก้ไขข้อมูลที่เก็บไปแล้วได้อีก แผ่นวอร์มซีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 600 เมกะไบต์ ไปจนถึงมากกว่า 3 จิกะไบต์ ขึ้นกับชนิดของวอร์มซีดีที่ใช้งาน
วอร์มซีดีจะมีจุดด้อยกว่าซีดีรอมในเรื่องของการไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน นั่นคือแผ่นวอร์มซีดีจะต้องใช้กับเครื่องอ่านรุ่นเดียวกับที่ใช้บันทึกเท่านั้น ทำให้มีการใช้งานในวงแคบ โดยมากจะนำมาใช้ในการเก็บสำรองข้อมูลเท่านั้น
                เอ็มโอดิสก์ (MO หรือ Magneto Optical disk)
เป็นระบบที่ใช้หลักการของสื่อที่ใช้สารแม่เหล็ก เช่น ฮาร์ดดิสก์ กับสื่อที่ใช้แสงเลเซอร์ เช่น ออปติคัลดิสก์เข้าด้วยกัน โดย เอ็มโอไดร์ฟ จะใช้แสงเลเซอร์ช่วยในการบันทึกและอ่านข้อมูล ทำให้สามารถอ่านและบันทึกแผ่นกี่ครั้งก็ได้คล้ายกับฮาร์ดดิสก์ เคลื่อนย้ายแผ่นได้คล้ายฟลอปปี้ดิสก์ มีความจุสูงมากคือตั้งแต่ 200 MB ขึ้นไป รวมทั้งมีความเร็วในการใช้งานที่สูงกว่าฟลอปปี้ดิสก์และซีดีรอม แต่จะช้ากว่าฮาร์ดดิสก์
ข้อดีอีกประการของเอ็มโอดิสก์คือ ข้อมูลที่เก็บอยู่ในเอ็มโอดิสก์จะปลอดภัยจากสนามแม่เหล็ก ต่างกับฟลอปปี้ดิสก์และฮาร์ดิสก์ เพราะสนามแม่เหล็กเพียงอย่างเดียว ไม่มีความร้อนจากแสงเลเซอร์จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ และการที่ใช้แสงเลเซอร์ช่วยในการอ่านและบันทึกข้อมูลนั้น ทำให้หัวอ่านบันทึกข้อมูลไม่จำเป็นต้องเข้าใกล้กับผิวของแผ่นดิสก์เหมือนกับฮาร์ดดิสก์ จึงช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดจาก การล้มเหลว (Crash) ของหัวอ่าน โดยดิสก์แบบเอ็มโอสามารถมีอายุการใช้งานได้ยาวนานกว่า 30 ปีทีเดียว ข้อเสียที่สำคัญของเอ็มโอดิสก์ คือราคาเครื่องขับแผ่นเอ็มโอจะเกิดการทำงานสองขั้นตอน คือลบข้อมูลออกแล้วจึงเขียนข้อมูลใหม่เข้าไป
                ดีวีดี(DVD หรือ Digital Versatile Disk)
เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เริ่มได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน แผ่นดีวีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ต่ำสุดที่ 4.7 จิกะไบต์ ซึ่งเพียงพอสำหรับเก็บภาพยนตร์เต็มเรื่องด้วยคุณภาพสูงสุดทั้งภาพและเสียง (ในขณะที่ CD-ROM หรือ Laser Disk ที่นิยมใช้เก็บภาพยนตร์ในปัจจุบันต้องใช้หลายแผ่น) ทำให้เป็นที่คาดหมายว่าดีวีดีจะมาแทนที่ทั้งซีดีรอม เลเซอร์ดิสก์หรือแม้กระทั่งวิดีโอเทป
ข้อกำหนดของดีวีดีจะสามารถมีความจุได้ตั้งแต่ 4.7 GB ถึง 17 GB และมีความเร็วในการเข้าถึง (Access time) อยู่ที่ 600 กิโลไบต์ต่อวินาที ถึง 1.3 เมกะไบต์ต่อวินาที รวมทั้งสามารถอ่านแผ่นซีดีรอมแบบเก่าได้ด้วย และยังมีข้อกำหนดสำหรับเครื่องรุ่นที่สามารถอ่านและเขียนแผ่นดีวีดีได้ในตัว เช่น DVD-R(DVD Recordable) ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้หนึ่งครั้ง DVD-ROM ซึ่งสามารถบันทึกและลบข้อมูลได้เช่นเดียวกับดิสก์เกต และ DVD-RW ซึ่งสามารถบันทึกและลบข้อมูลได้หลายครั้ง แต่ต้องทำทั้งแผ่นในคราวเดียว เป็นต้น
4. ส่วนเชื่อมต่ออุปกรณ์ (Peripheral Interface)
4.1 ยูเอสบี (USB หรือ Universal Serial Bus)
เป็นส่วนเชื่อมต่อที่ใช้หลักการของบัสแบบอนุกรมที่ได้รับความนิยม และเป็นมาตรฐานที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน ส่วนเชื่อมต่อยูเอสบีจะเป็นบัสอเนกประสงค์สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ความเร็วต่ำทั้งหมดเข้าพอร์ตชนิดต่าง ๆ ด้านหลังเครื่อง จะเปลี่ยนมาเป็นการเข้ากับพอร์ตยูเอสบีเพียงพอร์ตเดียว อุปกรณ์ที่ต่อทีหลังจะใช้วิธีต่อเข้ากับพอร์ตยูเอสบีของอุปกรณ์ก่อนหน้าแบบ เรียงไปเป็นทอด ๆ (Daisy chain) ซึ่งสามารถต่อได้สูงสุดถึง 127 อุปกรณ์ และสายเชื่อมระหว่างอุปกรณ์ยาวได้ถึง 5 เมตร
อุปกรณ์ที่เป็นแบบยูเอสบีจะสนับสนุนการถอดหรือเปลี่ยนอุปกรณ์โดยไม่ต้องปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน (Hot Swapping) รวมทั้งสนับสนุนการใช้งานแบบเสียบแล้วใช้ได้ทันที (Plug and Play) โดยส่วนเชื่อมต่อแบบยูเอสบีที่ใช้ในปัจจุบันจะใช้มาตรฐาน USB 1.1 ที่มีความเร็ว 2 ระดับ คือ 1.5 เมกะบิตต่อวินาที และ 12 เมกะบิตต่อวินาที ในขณะที่มาตรฐานรุ่นล่าสุดคือ USB 2.0 จะสามารถมีความเร็วได้ถึง 480 Mbps ซึ่งทำให้สามารถรับส่งข้อมูลคุณภาพและเสียงจำนวนมาก  ๆ ได้
4.2 อินฟราเรด (IrDa Port)
เป็นมาตรฐานส่วนเชื่อมต่อจาก Infrared Data Association(IrDa) ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์เพื่อพัฒนามาตรฐานในการส่งผ่านข้อมูลผ่านคลื่นแสงอินฟราเรด ในปัจจุบัน ส่วนเชื่อมต่อแบบอินฟราเรดได้รับการติดตั้งในอุปกรณ์จำนวนมาก เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุค พีดีเอ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น เนื่องจากส่วนเชื่อมต่ออินฟราเรดมีข้อดีคือ ไม่ต้องใช้สายในการเชื่อมต่อ ทำให้สะดวกกับการใช้งานในอุปกรณ์แบบพกพา อีกทั้งส่วนเชื่อมต่ออินฟราเรดยังมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีไร้สายแบบอื่น  ข้อจำกัดของส่วนเชื่อมต่อประเภทนี้คือระยะห่างระหว่างอุปกรณ์จะต้องไม่เกิน 1-3 เมตร  และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางในระหว่างอุปกรณ์ที่ใช้งาน
4.3  อุปกรณ์พีซีการ์ด (PC CARD)
เทคโนโลยีพีซีการ์ดเป็นเทคโนโลยีซึ่งเกิดจากมาตรฐาน PCMCIA (The Personal Computer Memory Card International Association)  ซึ่งเป็นมาตรฐานในการออกแบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ที่มีขนาดเท่ากับนามบัตร โดยอุปกรณ์ดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้งอุปกรณ์หน่วยความจำ ตลอดจนอุปกรณ์รับหรือแสดงผลต่าง ๆ
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพีซีการ์ดจะใช้พลังงานน้อย ทนทานต่อการใช้งาน มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา ทำให้มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ และต้องการพกพาไปยังที่ต่าง ๆ เช่น โน้ตบุค และพีดีเอ เป็นต้น นอกจากนี้ อุปกรณ์พีซีการ์ดยังมีการนำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางกับอุปกรณ์ประเภทต่าง ๆ เช่น กล้องดิจิตอล อุปกรณ์บันทึกข้อมูล ตลอดจนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น
อุปกรณ์พีซีการ์ดสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด โดยทั้ง 3 ชนิดจะมีขนาดความกว้างและความยาวประมาณเท่ากับบัตรเครดิต รวมทั้งใช้การเชื่อมต่อด้วยคอนเน็คเตอร์แบบ 68 เข็มเหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันที่ความหนา คือ
PC Card Type l จะมีความหนา 3.3 มิลลิเมตร นิยมใช้กับอุปกรณ์หน่วยความจำ เช่น RAM, Flash Memory และ SRAM เป็นต้น
PC Card Typd ll  จะมีความหนา 5.0 มิลลิเมตร นิยมใช้กับอุปกรณ์ Input/Output เช่น แฟกซ์/โมเด็ม การ์ด LAN เป็นต้น
PC Card Type lll มีความหนา 10.5 มิลลิเมตร จะใช้กับอุปกรณ์ที่มีส่วนประกอบค่อนข้างหนา เช่นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลประเภทฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
5.  ยูพีเอส (UPS)
ยูพีเอส หรือ Uninterruptible Power Supply เป็นอุปกรณ์สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าสำรองจากแบตเตอรี่ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานฉุกเฉินในกรณีเกิดปัญหากับระบบไฟฟ้าหลัก เช่น ไฟดับ ไฟตก ไฟเกิน เป็นต้น โดยปกติแล้วยูพีเอสจะสามารถจ่ายพลังงานให้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานได้ต่ออีกหลายนาทีหลังจากไฟฟ้าดับ ทำให้ผู้ใช้สามารถจัดเก็บข้อมูลหรือทำ ขั้นตอนปิดระบบ (Shutdown) ให้เรียบร้อย และหากเป็นยูพีเอสที่มีกำลังไฟฟ้าสูงก็จะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ใช้งานได้หลายชั่วโมง นอกจากนี้ในปัจจุบัน จะมียูพีเอสซึ่งมีซอฟต์แวร์มาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลและปิดระบบโดยอัตโนมัติเมื่อระบบไฟฟ้ามีปัญหา ซึ่งจะมีประโยชน์ในกรณีที่ผู้ใช้ไม่ได้อยู่ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะนั้น
ยูพีเอสสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ
Standby Power systems จะเป็นระบบยูพีเอสที่ในเวลาปกติจะให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้พลังงานจากระบบไฟฟ้าโดยตรง แต่จะคอยตรวจสอบพลังงานไฟฟ้าและทำการเปลี่ยนไปใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ทันทีที่ตรวจพบปัญหา จุดด้อยคือการเปลี่ยนอาจใช้เวลาหลายมิลลิวินาที ซึ่งช่วงเวลานี้เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่ได้รับพลังงานไฟฟ้า ทำให้อาจเกิดปัญหากับอุปกรณ์บางอย่างที่มีความไวสูง มีข้อดีคือราคาต่ำและสูญเสียพลังงานไฟฟ้าน้อยมาก บางครั้งอาจเรียกระบบนี้ว่า Line-interactive UPS
On-line UPS systems  เป็นระบบยูพีเอสที่คอยจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆตลอดเวลาไม่ว่าระบบไฟฟ้าหลักจะมีปัญหาหรือไม่ ทำให้ได้พลังงานไฟฟ้าที่มีคุณภาพสูงอยู่ตลอดเวลา มีข้อเสียคือราคาแพง และมีการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าไปกับการแปลงไฟฟ้าตลอดเวลา รวมทั้งมีอายุการใช้งานสั้นกว่าด้วย บางครั้งอาจเรียกระบบนี้ว่า Double Conversion UPS เนื่องจาก UPS ประเภทนี้จะต้องทำการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับจากแหล่งจ่ายไฟไปเป็นกระแสตรง และแปลงกลับมาเป็นกระแสสลับให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใช้อีกครั้งหนึ่ง
6.  แบตเตอรี่แบบเติมประจุ (Rechargeable battery)
แบตเตอรี่แบบเติมประจุ ได้รับความนิยมมาใช้ในอุปกรณ์แบบพกพา เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุค เครื่องพีดีเอ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น เนื่องจากแบตเตอรี่รุ่นใหม่ ๆ สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน และสามารถเติมประจุซ้ำ ๆ ได้หลายร้อยครั้ง ทำให้ประหยัดกว่าการใช้แบตเตอรี่แบบใช้แล้วทิ้งเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ บางรุ่นยังสามารถรายงานระดับพลังงานที่เหลืออยู่เพื่อให้ผู้ใช้ทราบได้ว่าสามารถใช้งานอุปกรณ์ชิ้นนั้น ได้อีกนานเท่าใด แบตเตอรี่แบบเติมประจุที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็นสามประเภท คือ
NiCD battery  แบตเตอรี่แบบนิกเกิลแคดเมียม (Nickel Cadmium) เป็นแบตเตอรี่ที่มีราคาถูก สามารถทำการประจุซ้ำได้ประมาณ 700-1000 ครั้ง แต่ แบตเตอรี่ประเภทนี้จะสามารถใช้งานได้ไม่นานนัก และมีปัญหา Memory effect ทำให้ต้องทำการใช้งานให้ประจุหมดทุกครั้งก่อนที่จะทำการเติมประจุใหม่
NiMH battery แบตเตอรี่แบบนิกเกิลเมตัลไฮไดร์ด (Nichel Metal Hydride) เป็นแบตเตอรี่ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากให้พลังงานที่ยาวนานกว่าแบบ NicD ประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งไม่มีปัญหา Memory effect ทำสามารถเติมประจุเมื่อใดก็ได้ สามารถทำการเติมประจุได้ประมาณ 500 ครั้ง ข้อเสียของแบตเตอรี่ประเภทนี้คือจะมีการสูญเสียพลังงานประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ทุกวันไม่ว่าจะมีการใช้งานหรือไม่ก็ตาม
Lithium-Ion battery แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน (Lithium-Ion) เป็นแบตเตอรี่ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากให้พลังงานที่สูงกว่า แบบ NiMH ประมาณ 2 เท่า ไม่มีปัญหา memory effect เติมประจุได้ประมาณ 500 ครั้ง และมีน้ำหนักที่เบา ทำให้มีความเหมาะสมในการนำมาใช้กับอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ เป็นอย่างยิ่ง ข้อเสียของแบตเตอรี่ประเภทนี้คือราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าประเภทอื่น ๆ พอสมควร
7.  Modem (modulation-Demodulation)
จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายภายนอกผ่าน สายโทรศัพท์ดั้งเดิม (POTS) ซึ่งปกติใช้ส่งสัญญาณเสียงเท่านั้น โมเด็มมีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณดิจิตอลจากคอมพิวเตอร์ ให้เป็นสัญญาณอนาลอก เพื่อส่งผ่านไปตามสายโทรศัพท์ และเมื่อได้รับข้อมูลก็ทำการแปลงสัญญาณอนาลอกที่ได้รับให้เป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อให้คอมพิวเตอร์นำไปประมวลผล ในปัจจุบันนี้ สามารถส่งผ่านโมเด็มได้ด้วยความเร็วสูงสุดตามมาตรฐาน V.90 ของ ITU ที่ 56 kbps
โมเด็มสามารถแบ่งเป็นแบบต่าง  ๆ ได้คือ
  • โมเด็มภายใน (Internal MODEM) จะเป็นโมเด็มแบบเป็นการ์ดใช้เสียบกับช่องขยายเพิ่มเติมในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีข้อดีคือราคาถูกและไม่ต้องเสียบไฟแยกต่างหาก
  • โมเด็มแบบภายนอก (External MODEM) จะเป็นกล่องสำหรับเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทาง พอร์ตอนุกรม (serial port) หรือ ยูเอสบี (USB) มีข้อดีคือเคลื่อนย้ายได้ง่าย และมีไฟแสดงสถานะการทำงาน
  • โมเด็มแบบกระเป๋า (Pocket MODEM) จะเป็นโมเด็มขนาดเล็กที่สามารถพกใส่กระเป๋าเสื้อได้และเสียบเข้ากับพอร์ตอนุกรม
  • โมเด็มแบบการ์ด (PCMCIA MODEM) จะเป็นโมเด็มที่มีขนาดเท่ากับบัตรเครดิตเท่านั้น นิยมใช้กับเครื่องโน้ตบุคโดยเสียบผ่านช่องเสียบแบบ PCMCIA Type ll
8.  หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage)   
หน่วยความจำหลักที่นิยมใช้งานอยู่ในปัจจุบัน สามารถแบ่งอออกได้เป็น 2 ประเภท
1.  หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory)
เรียกสั้น ๆ ว่า รอม (ROM) เป็นหน่วยความจำที่มีคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดโดย ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง (Non-Volatile) นั่นคือแม้จะปิดเครื่องไปแล้วเมื่อเปิดเครื่องใหม่ข้อมูลในรอม ก็ยังอยู่เหมือนเดิม นิยมใช้เป็นหน่วยความจำสำหรับเก็บชุดคำสั่งในการเริ่มต้นระบบ หรือชุดคำสั่งที่สำคัญ ๆ ของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเริ่มต้นระบบจะถูกเก็บไว้ในชิปชื่อ ROM BIOS (Basic Input / Output  System) ข้อเสียของรอมคือจะไม่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมชุดคำสั่งได้ในภายหลัง รวมทั้งมีความเร็วในการทำงานช้ากว่าหน่วยความจำแบบแรม
นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังมีรอมที่เป็นชิปพิเศษแบบต่าง ๆ อีก คือ
PROM (Programmable Read-Only Memory)
เป็นหน่วยความจำแบบ ROM ที่สามารถบันทึกด้วยเครื่องบันทึกพิเศษได้หนึ่งครั้ง จากนั้นจะลบหรือแก้ไข้ไม่ได้
EPROM(Erasable PROM)  
เป็นหน่วยความจำ ROM ที่ใช้แสงอัลตราไวโอเลตในการเขียนข้อมูล สามารถนำออกจากคอมพิวเตอร์ไปลบโดยใช้เครื่องมือพิเศษและบันทึกข้อมูลใหม่ได้
EEPROM (Electrically Erasable PROM)
จะเป็นเทคโนโลยีซึ่งรวมเอาข้อดีของรอมและแรมเข้าด้วยกัน กล่าวคือจะเป็นชิปที่ใช้ไฟฟ้าในการหล่อเลี้ยง (non-volatile) สามารถเขียน แก้ไข หรือลบข้อมูลที่เก็บไว้ได้ด้วยโปรแกรมพิเศษ โดยไม่ต้องถอดออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์เลย ทำให้เปรียบเสมือนหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่มีความเร็วสูงอย่างไรก็ตาม หน่วยความจำชนิดนี้จะมีข้อด้อยอยู่ 2 ประการเมื่อเทียบกับหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง นั่นคือราคาที่สูงและมีความจุข้อมูลต่ำกว่ามาก ทำให้การใช้งานยังจำกัดอยู่กับงานที่ต้องการความเร็วสูง และเก็บข้อมูลไม่มากนัก ตังอย่างของหน่วยความจำแบบ EEPROM ที่รู้จักกันดีคือ หน่วยความจำแบบแฟลช (Flash memory) ซึ่งนิยมนำมาใช้เก็บ BIOS ในเครื่องรุ่นใหม่ ๆ
เสริมศัพท์
ความเร็วในการเข้าถึง (Access time)
คือเวลาที่โปรแกรมหรืออุปกรณ์ใช้ในการหาข้อมูลให้คอมพิวเตอร์นำไปประมวล นิยมใช้เป็นค่าสำหรับบอกความเร็วของอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น หน่วยความจำหลัก และหน่วยเก็บความจำสำรอง โดยหน่วยความจำหลักจะมีความเร็วอยู่ในหน่วยของ nanoseconds(ns หรือ หนึ่งส่วนพันล้านวินาที)
ความเร็วในการเข้าถึงของหน่วยความจำ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบกับประสิทธิภาพของซีพียู โดยจะต้องมีความเร็วพอที่จะสามารถส่งข้อมูลให้ซีพียูได้ในทันที ไม่เช่นนั้นซีพียูจะต้องมีการกำหนดว่าใหยุดรอระยะหนึ่งทุกครั้งที่อ่านเขียนข้อมูลจากหน่วยความจำ เรียกว่า เวทสเตท (Wait state) ซึ่งมีหน่วยเป็น วงรอบสัญญาณนาฬิกา (Clock cycle)
ส่วนความเร็วในการเข้าถึงของหน่วยเก็บความจำสำรอง จะเรียก ความเร็วในการเข้าถึงเฉลี่ย (Average access time) ซึ่งประกอบด้วยเวลาที่ไดร์ฟใช้ในการหาแทร็กที่ถูกต้อง กับเวลาเฉลี่ยในการเลื่อนหัวอ่าน (average seek time) ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ นิยมใช้เป็นหน่วยวัดความเร็วในอุปกรณ์แบบเข้าถึงข้อมูลโดยตรง (Direct access) เช่น ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
2. หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory)
นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า แรม (RAM) หมายถึงหน่วยความจำความเร็วสูงซึ่งเป็นที่เก็บโปรแกรมและข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีหน่วยความจำความเร็วสูงนี้ โปรเซสเซอร์ก็จะทำงานไม่ได้เลย เนื่องจากความจำแรมเป็นเสมือนกระดาษทด ที่เก็บข้อมูลทุกอย่างที่โปรเซสเซอร์ใช้ในขณะกำลังทำงานอยู่ เพราะอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลอื่น เช่น ดิสก์ไดร์ฟ จะมีความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลช้ามาก ขณะที่ซีพียูทำงานจึงต้องทำงานกับหน่วยความจำแรมที่มีความเร็วสูงเสมอ
โดยปกติแล้ว ถ้าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำมาก ก็จะสามารถทำงานได้เร็วขึ้น เพราะมีเนื้อที่สำหรับเก็บคำสั่งของโปรแกรมต่าง ๆ ได้ทั้งหมด ไม่ต้องเรียกคำสั่งที่ใช้มาจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ซึ่งจะทำให้การทำงานช้าลงอย่างมาก แผงวงจรหลัก (Main board)  ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติจะถูกออกแบบมาให้สามารถเพิ่ม ชิปหน่วยความจำ(memory chip) ได้โดยง่าย เนื่องจากถ้าผู้ใช้ต้องทำงานกับ โปรแกรมที่มีการคำนวณซับซ้อนหรือทำงานกับภาพกราฟิก ก็อาจจำเป็นต้องทำการเพิ่มหน่วยความจำให้มากขึ้น
คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ส่วนมากจำเป็นต้องมีหน่วยความจำจำนวนมาก เนื่องจากคอมพิวเตอร์นี้จะมีผู้ใช้หลายคนทำงานพร้อม ๆ กัน โดยใช้หลักการของ มัลติโปรเซสซิง (Multiprocessing) ทำให้ต้องมีการแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำ เพื่อเก็บโปรแกรมของผุ้ใช้แต่ละคนสามารถประมวลผลไปในเวลาเดียวกันมากขึ้น
หน่วยความจำ RAM ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ
DRAM (Dynamic RAM)
เป็นหน่วยความจำที่มีการใช้งานกันมากที่สุดในปัจจุบัน จะมีวงจรคล้ายตัวเก็บประจุเพื่อจัดเก็บแต่ละบิตของข้อมูล ทำให้ต้องมีการย้ำสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปก่อนที่จะสูญหาย เรียกว่า การรีเฟรช (Refresh) หน่วยความจำ DRAM  จะมีข้อดีที่ราคาต่ำ แต่ข้อเสียคือมีความเร็วในการเข้าถึง (Access time) ประมาณ 50 – 150 nanoseconds ซึ่งไม่สูงนักเนื่องจากต้องมีการรีเฟรชข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีการนำเทคนิค ต่าง ๆ มาช่วยลดเวลาในการเข้าถึงข้อมูล และเกิด DRAM ชนิดย่อย ๆ เช่น FPM (Fast Page Mode) RAM, EDO (Extended Data Output) RAM, SDRAM (Synchronous DRAM), DDR (Double Data Rate) SDRAM และ RDRAM (Rambus DRAM) เป็นต้น
                นอกจากนี้ ยังมี DRAM แบบพิเศษซึ่งมีการปรับปรุงให้ทำงานเร็วขึ้นเพื่อใช้เป็น หน่วยความจำสำหรับระบบแสดงผลกราฟิก ซึ่งต้องการหน่วยความจำที่สามารถถ่ายโอนข้อมูลด้วยความเร็วสูง เช่น VRAM(Video RAM), WRAM (Window RAM), SGRAM (Synchronous Graphics RAM) และ MDRAM (Multibank RAM) เป็นต้น

เรื่องที่ 7 อุปกรณ์แสดงผล

เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงผล จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันจะเป็นจอสีทั้งหมด ส่วนจอขาวดำ ไม่มีให้เห็นแล้ว และส่วนมากจะเป็นจอแบบ CRT (Cathode Ray Tube) เพราะจอ CRT มีราคาสูง ส่วนเครื่องโน็ตบุ๊คจะเป็นจอแบบ LCD โดยขนาดนี้นิยมใช้จะอยู่ที่ 15 นิ้ว จอ CRT รุ่นใหม่ๆ จะมีกระจกหน้าจอแบบราบ
การ์ดแสดงผล (Display Card)
การ์ดแสดงผลหรือชื่องอย่างเป็นทางการคือ VGA Adapter Card ทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผลของจอภาพ โดยข้อมูลที่จะแสดงจะถูกส่งจากซีพียูมายังการ์ดแสดงผล เพื่อประมวลผล ในจากดิจิตอลเป็นแอนะล็อก แล้วส่งไปยังวงจรควบคุมสี (RGB Circuit) ของจอภาพ เพื่อให้ปรากฏเป็นภาพบนหน้าจอ
เครื่องพิมพ์ ( Printer)
       เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่มีคู่กับคอมพิวเตอร์มานานแล้วและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้โดยทั่วไปมี 4 ประการคือ
         1.
เครื่องพิมพ์แบบหัวเข็ม (Dot Matrix Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันมากในอดีต การพิมพ์จะใช้หัวพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นเข็มเรียงกันเป็นแถวในแนวตั้ง มี 2 แบบ คือ 9 หัวเข็มและแบบ 24 หัวเข็ม อักษรที่ได้จะดูหยาบไม่ค่อยละเอียด
         2.
เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink Jet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันมาก เพราะสามารถพิมพ์สีได้ด้วย ถูกกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดอื่นๆ
         3.
เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีคล้ายเครื่องถ่ายเอกสารคุณภาพและความเร็วในการพิมพ์ดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบหัวเข็ม และแบบพ่นหมึก มีความคมชัดสูงแต่ราคาก็สูง
         4.
เครื่องพิมพ์แบบพล็อตเตอร์ (Plotter Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้สำหรับการพิมพ์งานประเภทงานออกแบบ
การ์ดเสียง (Sound Card)
         
เป็นการ์ดที่ช่วยสนับสนุนและจัดการด้านเสียงของเครื่องพีซี และควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเสียง ไม่ว่าจะเป็นการเล่นไฟล์เสียง สร้างเสียงดนตรี การบันทึกเสียงไปเป็นไฟล์แบบดิจิตอล ตลอดจนการ Mix เสียง การ์ดเสียงรุ่นใหม่จะเป็นแบบที่เสียบในสล็อต PCI และมีคุณสมบัติ Plug and Play ซึ่งทำให้การติดตั้งง่ายขึ้นมาก
ลำโพง (Speaker)
         
เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงเสียงเหมือนลำโพงเครื่องเสียง โดยจะทำการแปลงสัญญาณไฟฟ้า จากการ์ดเสียงให้ออกมาเป็นเสียงต่างๆ ดังนั้น คุณภาพเสียงที่ได้จึงไม่ได้ขึ้นอยู่ที่การ์ดเสียงเท่านั้น ต้องอาศัยการขับพลังเสียงของลำโพงด้วย ซึ่งลำโพงที่นิยมใช้กันทั่วไปจะเป็นลำโพงแบบตอบสนองเบสและเสียงแหลมที่ชัดเจนควรใช้ลำโพงแบบซัปวูฟเฟอร์จะให้เสียงเบสที่นุ่มนวลกว่าและแบบทวีตเตอร์ซึ่งจะให้เสียงแหลมที่ชัดเจน